Power BI ดีกว่า Qlik อย่างไร

ในสถานการณ์ทางธุรกิจที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและนำไปใช้ได้จริงเป็นส่วนสำคัญสำหรับการบรรลุความสำเร็จและเป้าหมายทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม การให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกอาจเป็นงานที่ละเอียด ซับซ้อน และใช้เวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราใช้เครื่องมือ Business intelligence (BI) แบบดั้งเดิม (traditional) ซึ่งอาจมีข้อจำกัดและความไม่ยืดหยุ่น ส่งผลให้เราอาจเสียโอกาสในการวิเคราะห์และรับข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลที่มีค่าของเราได้ ซึ่ง Power BI ปิดช่องว่างเหล่านี้โดยการนำเสนอข้อมูลดยเครื่องมือจัดการการรายงานที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดความยุ่งยากในการสร้างและแบ่งปันรายงานและแดชบอร์ดเชิงโต้ตอบ (interactive reports and dashboard)ของคุณ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการย้ายเครื่องมือการแสดงข้อมูลแบบดั้งเดิม เช่น QlikView ไปยัง Power BI บทความนี้จะให้ภาพรวมที่ครอบคลุมของความสามารถหลักและประโยชน์ต่างๆ ของ Power BI รวมถึงความเป็นมิตรต่อผู้ใช้ ความสามารถในการแสดงภาพข้อมูลขั้นสูง ความคุ้มค่า ระบบนิเวศที่แข็งแกร่ง และชุมชนและการสนับสนุนที่มีให้สำหรับผู้ใช้ Power BI จะได้รับ ในตอนท้ายของบทความนี้ คุณจะเข้าใจได้ดีขึ้นว่าเหตุใด Power BI จึงเป็นตัวเลือกที่เหนือกว่าสำหรับ QlikView และวิธีที่สามารถช่วยดึงคุณค่าจากข้อมูลของพวกได้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจ นักวิเคราะห์ข้อมูล หรือผู้มีอำนาจตัดสินใจ บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจว่า Power BI สามารถช่วยคุณในการตัดสินใจได้ดีขึ้นอย่างรวดเร็วได้อย่างไร โดยบทความจะครอบคลุมประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้: […]

Monitor Azure Data Factory with Power BI – Part 2

ใน บทความที่แล้ว เราได้อธิบายถึงขั้นตอนในการดึง authentication token เพื่อเข้าถึง Azure Data Factory REST API. ในบทความนี้ เราจะสร้างสิ่งนี้เพื่อดึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการตรวจสอบข้อมูลจาก Azure Data Factory Pipleines โดยใช้ queryPipelineRuns endpoint. โดยเริ่มจากการสร้าง  parameters เพิ่มเติมเพื่อจัดเก็บ Azure Resource Group Name ของคุณ โดยต้องเป็นที่กลุ่มที่ Data Factory instsance ที่ต้องการใช้งานอยู่ และ ระบุชื่อ Data Factory ที่ต้องการ 1. เปิดไฟล์ Power BI Desktop ของคุณแล้วคลิก Transform Transform 2. จากนั้นคลิกขวาที่บานหน้าต่าง Queries, เลือก New Parameter จากนั้นเพิ่มชุดพารามิเตอร์ต่อไปนี้: resourceGroupName, dataFactoryName.  ตัวอย่าง:​​​​ ตอนนี้คุณควรมีทั้งหมด 5 parameters: ลำดับต่อมา สร้าง query โดยคลิกขวาที่บนหน้าต่าง Queries ทางด้านซ้ายมือแล้วเลือก Blank […]

Extract metadata using Azure Synapse SQL Serverless pools

sp_describe_first_result_set ของ system stored procedure เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพใน SQL serveless pools มีหน้าที่ส่งคืนข้อมูล metadata ของชุดผลลัพธ์การ query  สามารถใช้เพื่อดึงข้อมูลเกี่ยวกับคอลัมน์ ชนิดข้อมูล และข้อมูลเมตาอื่นๆ ของ query ก่อนที่จะดำเนินการ query ซึ่งจะประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อทำงานร่วมกับ Data Lake ขนาดใหญ่ที่อาจไม่ทราบถึงโครงสร้างของข้อมูลมาก่อน ต่อไปนี้คือตัวอย่างวิธีใช้ sp_describe_first_result_set stored procedure เพื่อดึง metadata ของไฟล์ที่จัดเก็บไว้ใน Data Lake: ? 12345678910 EXECsp_describe_first_result_set N’SELECT *FROM     OPENROWSET(        BULK ”datalake/*.csv”,        DATA_SOURCE = ”storage’,        FORMAT = ”CSV”,         PARSER_VERSION = ”2.0”,         HEADER_ROW = TRUE    )  ASr’ ซึ่งจะส่งคืนชุดผลลัพธ์ดังต่อไปนี้: ? 123456789 ColumnName| Type Name| MaxLength | Precision| Scale | Nullable————————————————————–CustomerID  […]

Monitor Azure Data Factory with Power BI – Part 1

การตรวจติดตาม Azure Data Factory บน Power BI ในชุดบทความนี้ เราจะศึกษาวิธีใช้ Power BI เพื่อเข้าถึง API ของ Azure Data Factory สำหรับใช้ในการตรวจสอบและติดตามการใช้งาน Azure Data Factory ในส่วนแรกของบทความนี้ เราจะใช้ Power BI และ Power Query เพื่อเรียกดู Authentication token โดยใช้ Service Principal ที่สามารถใช้ซ้ำได้เพื่อเข้าถึงหลากหลาย API ของ Azure ecosystem ขั้นตอนหลักคือ ในขั้นตอนแรกที่เราต้องการคือ Service Principal ซึ่งต้องที่รับสิทธิการเข้าถึงที่เหมาะสมบน Azure Data Factory ของเรา แต่อาจจำเป็นต้องขอสิทธิ์ดังกล่าวบน Azure subscription admin ในการดำเนินการ ซึ่งคุณสามารถทำได้ด้วย PowerShell […]

ความแตกต่างของประเภทของ Power BI และความเหมาะสมในการใช้งาน

Power BI เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างกระบวนการหรือเทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลไม่ว่าคุณจะมีสถาปตยกรรมแบบใด แต่หนึ่งสิ่งที่เราพบปัญหาไม่ว่าจากผู้เริ่มต้นสร้างกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลหรือต้องการพัฒนาต่อยอดระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ คือ ไม่ทราบว่า Power BI License มีประเภทใดบ้างและมีความแตกต่างหรือเหมาะสมต่อการใช้งานอย่างไร ในบทความนี้เราจะพาคุณมารู้จัก Power BI license ว่ามีประเภทใดบ้างพร้อมยกตัวอย่างลักษณะการใช้งานที่เหมาะสมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบโครงสร้างหรือวิธีการนำ Power BI ไปหรับใช้ในองค์กรของคุณ ก่อนที่จะพูดถึงใบอนุญาตประเภทต่างๆ เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือหลักต่างๆ ซึ่งส่วนสำคัญของ Power BI ตามรายละเอียดดังนี้ 1. Power BI Desktop เป็นแอปฟลิเคชั่นที่นำมาติดตั้งในเครื่อง Desktop/Notebook/Workstation เพื่อใช้ในการออกแบบรายงานและสร้างกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นจุดเรื่องต้นในการสร้างรายงาน เพื่อนำไปแบ่งบันหรือใช้งานร่วมกับผู้อื่นโดยการเผยแพร่ผ่าน Power BI Services 2. Power BI service (Pro and Premium by User Editions) / Power BI Report Server (Premium by Capacity Editions) เป็นเครื่องมือในการจัดการและเผยแพร่รายงานที่ถูกออกแบบไว้แล้วให้สามารถเข้าถึงผ่านช่องทางต่างๆ เช่น Web browser, Mobile […]

Transform to Industry 4.0 Part 7 – IT Versus OT

IT (information technology) VS OT (operational technology) คืออะไรและแตกต่างกันอย่างไร ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงธุรกิจในกลุ่มอุสาหกรรมไปสู่อุสาหกรรม 4.0 เทคโนโลยีคือปัจจัยสำคัญที่จะถูกหยิบมาใช้งานเพื่อขับเคลื่อนและยกระดับกระบวนการทางธุรกิจ โดยจะประกอบไปด้วย Information technology (IT) และ Operational technology (OT) ซึ่งจะมีบทบาทหน้าที่ในการทำงานที่แตกต่างกันและมีความจำเป็นในการทำงานร่วมกันเพื่อเปลี่ยนแปลงธุรกิจไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างแท้จริง ในบทความนี้จะชี้แจงถึงบทบาทหน้าที่ ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันของทั้ง 2 เทคโนโลยี ทำความรู้จักกับ Information technology (IT) คือ การพัฒนา การจัดการ และการประยุกต์ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครือข่าย ซอฟต์แวร์ และระบบ ไอทีมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่ เนื่องจากช่วยให้ผู้คนและเครื่องจักรสามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ เช่น ระบบจัดการการเงิน, ระบบจัดการสินค้าคงคลัง, ระบบบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์, ระบบบริหารงานขายและการตลาด, ระบบจัดการคำสั่งซื้อและวางแผนการผลิต หรือ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ระบบ Enterprise resource planning (ERP) ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการและบันทึกข้อมูลจากกิจกรรมทุกส่วนที่เกิดขึ้นในธุรกิจ ทำความรู้จักกับ […]

Collect Google Analytics data in real-time with Microsoft Azure – Part 3

ติดตามบทความก่อน: Collect Google Analytics data in real-time with Microsoft Azure – Part 1 Collect Google Analytics data in real-time with Microsoft Azure  – Part 2 ใน บทความส่วนที่ 2 เราได้สรุปรายละเอียดการวิธีการกำนดค่าใน Google Tag Manager และ Azure Event Hub เพื่อรับข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจาก Website โดยแน่นอนที่จะสามารถใช้ Azure Functions สำหรับโซลูชั่นแบบ “Low code” ในบทความนี้เราพาลงรายละเอียดทีละขั้นตอนในการ Process และ Transform ข้อมูลโดยใช้ Azure Stream Analytic และส่งออกข้อมูลนั้นไปยังปลายทางสำหรับการรายงานข้อมูล โดยสรุปมี 4 ขั้นตอนหลัก:: บทความนี้มีสมมุติฐานว่าคุณมีฐานข้อมูล Azure […]

Transform to Industry 4.0 Part 6 Final

ทาง BizOne ขอนำเสนอดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพ (KPIs) ที่มีความน่าสนใจต่ออุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มเติมอีก 8 รายการโดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.อัตราการผลิตสมบูรณ์ในครั้งเดียว: วัดประสิทธิภาพกระบวนการผลิตที่ได้ผลลัพธ์โดยสมบูรณ์ การทำงานซ้ำซ้อนเพื่อแก้ไขผลิตภัณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์มีค่าใช้จ่ายสูงและส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการผลิตโดยตรง โดยตัวชี้วัดนี้สามารถบันทึกอัตราการผลิตสมบูรณ์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความผิดพลาดหรือความสมบูรณ์ต่อการผลิจในครั้งเดียว เพื่อจัดกลุ่มและกำหนดแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพโดยมุ่งเน้นการเพิ่มอัตราการผลิตสมบูรณ์ในครั้งเดียวให้ได้สูงสุด ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน 2.อัตราสินค้าตีกลับ: ติดตามปริมาณและสัดส่วนสินค้าถูกตีคืนหรือส่งกลับ สินค้าที่ถูกตีคืนหรือส่งกลับเป็นส่วนหนึ่งของรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและทำให้เกิดภาพลักษณ์ด้านคุณภาพที่ไม่ดีต่อลูกค้า ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การผิดพลาดจากการผลิต, ความเสียหายจากการขนส่ง, ความผิดพลาดจากการสื่อสาร ฯลฯ การติดตามหาต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการตีกลับของสินค้าเพื่อหาแนวทางในการลดปริมาณและความเสียหายเพื่อให้ได้มาถึงรายละเอียดที่เพียงพอการการวิเคราะห์ถึงสาเหตุและต้นเหตุของปัญหาจึงมีความจำเป็น ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน 3.การส่งตรงเวลา: ติดตามอัตราการส่งมอบสินค้าตรงเวลาตามความต้องการของลูกค้า หนึ่งในตัวชี้การผลิตที่มีความสำคัญเพราะไม่ว่าผลิตภัณฑ์จะดีเพียงใดหากไม่สามารถส่งได้ทันเวลาตามความต้องการใช้งานของลูกค้าย่อมไม่เกิดพึงพอใจต่อตัวผลิตภัณฑ์อย่างแน่นอน ซึ่งตัวชี้วัดนี้จะทำงานอย่างตรงไปตรงมาในการแสดงเปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์ที่จัดส่งตรงเวลาหรือระบุรายการสาเหตุที่ทำให้เกิดการส่งสินค้าไม่ทันเวลาจากปัจจัยต่างๆ เพื่อให้ทางเราสามารถหาแนวทางในการปรับปรุงการขนส่งให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าและเข้าใกล้อัตรา 100% มากที่สุด ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน 4.อัตราสินทรัพย์หมุนเวียน: ความสามารถในการสร้างรายได้จากสินทรัพย์ที่ครอบครอง อัตราสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นปัจจัยทางการเงินมากว่าการผลิตแต่ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการสะท้อนความสามารถในการสร้างรายได้ต่อทรัพย์สินที่ครอบครอง ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตเป็นหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่ต้องลงทุนและมีทรัพย์สินจำนวนมากในการดำเนินการความสามารถในการสร้างรายได้จากทรัพย์สินเหล่านั้นจึงเป็นตัวบอกความสามารถในการแข่งขันในตลาดและชี้บอกโอกาศ/ความเสี่ยงต่อการการขยายธุรกิจในอนาคตได้ โดยคำนวณจาก การหมุนเวียนของสินทรัพย์ = รายได้ / สินทรัพย์รวม ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน 5.ผลตอบแทนจากสินทรัพย์: ติดตามอัตรากำไรต่อทรัพย์สิน ตัวชี้วัดความคุ้มค่าและสร้างผลกำไรผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) เพื่อเห็นความสามารถในการสร้างผลกำไรจากเงินทุนที่คุณลงทุนนั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยอย่างไร สามารถนำไปเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพที่ดีใช้ในการจัดการงบกำไรขาดทุนและสินทรัพย์เพื่อออกแบบรูปแบบธุรกรรมที่เหมาะสมและกำหนดรูปแบบการแข่งขันต่อธุรกิจต่อไป ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน 6.      ต้นทุนต่อหน่วย: ติดตามและเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุนต่อหน่วย […]

Data in space ความสามารถใหม่ของ Power BI ในการแสดงข้อมูลของคุณบนโลกความเป็นจริง

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านทาง Microsoft ได้ประกาศความสามารถใหม่ของ Power BI ภาตใตชื่อ Data in space โดยมีความสามารถในการใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟนดูรายงานเสมือนจาก Power BI ประกอบภาพสถานที่จริงเมื่อส่องกล้องยังสถานที่หรือตำแหน่งที่กำหนดไว้ หากคุณลองจินตนาการว่าคุณสามารถไปตรวจสอบคลังสินค้าและเมื่อนำมือถือส่องไปยังพื้นที่จัดเก็บต่างๆ ก็จะมีข้อมูลรายละเอียดสินค้าคงคลังตามพื้นที่นั้นๆ รวมถึงแสดงข้อมูลสำคัญที่คุณต้องการทราบสอดคล้องกับสถานที่ทำงานจริงทางกายภาพ หรือ เช่น การแสดงผลข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยอ้างอิงจากห้องพัก เตียงของผู้ป่วยได้เหมือนอยู่ในหนัง Sci-fi ล้ำยุค เพื่อเราสามารถตรวจสอบข้อมูลรายงานงานสิ่งของต่างๆ ร่วมกับพื้นที่หรือสิ่งของทางกายภาพ ซึ่งความสามารถนี้เกิดจากการทำงานร่วมระหว่าง  Power BI กับ Azure Spatial Anchors ในการสร้างประสบการณ์ผสมผสานโลกเสมือนและโลกแห่งความจริงผ่านอุปกรณ์มือถือ (iOS, Android และ HoloLens) บนเทคโนโลยี Augmented Reality Augmented Reality AR เป็นเทคโนโลยีที่ผสานโลกความเป็นจริง (Real) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual) ผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างฮาร์ดแวร์รวมกับการใช้ซอฟต์แวร์ ทำให้สามารถมองเห็นภาพที่มีลักษณะเป็นวัตถุเสมือน (Virtual Object) แสดงผลในจอภาพในรูปแบบวัตถุ 3 มิติ ลอยอยู่เหนือพื้นผิวจริงที่บนถ่ายมาจากกล้องวิดีโอ […]

Transform to Industry 4.0 Part 6

ตัวอย่างตัวชี้วัดประสิทธิภาพสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตพร้อมรายละเอียด นิยาม วิธีการใช้งาน รวมถึงมาตรวัดที่เหมาะกับการนำไปปรับใช้งาน                หนึ่งปัจจัยที่น่าสนใจหลังคุณสามารถปรับปรุงธุรกิจของคุณเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 คือการนำข้อมูลต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นจากการพัฒนากระบวนการมาใช้การวิเคราะห์และตัดสินใจ เพื่อสร้างกระบวนการชับเคลื่อนหรือปรับปรุงธุรกิจของคุณให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยใช้พื้นฐานจากข้อมูล (Data driven) โดยหากพิจารณาจากข้อมูลที่มีอยู่มากมายในธุรกิจอุตสาหกรรม ทาง BizOne ขอนำเสนอดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพ (KPIs) ที่มีความน่าสนใจรวมถึงประโยชน์ในแต่ละรายการ 1.      ปริมาณการผลิต (Production Volume) : ติดตามประเมินปริมาณการผลิตของคุณตามช่วงเวลาที่สนใจ ทุกโรงงานต้องการทราบภาพรวมของกำลังการผลิตภายใต้ช่วงเวลาที่สนใจ เช่น รายเดือน รายปี รายวัน หรือแม้กระทั้ง แบบ Realtime ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการสร้างขีดความสามารถในการสร้างรายได้ขององค์กรและใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงการความก้าวหน้า ถดถอย หรือทราบถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นเมื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ในแต่ละช่วงเวลา ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน 2.      การหยุดทำงานของสายการผลิต (Production Downtime): ติดตามปัญหาและพฤติกรรมการหยุดทำงานของสายการผลิต ซึ่งในมุมกลับกันปัจจัยสำคัญซึ่งอาจทำให้โรงงานสูญเสียรายได้หรือลูกค้าจากการหยุดทำงานของสายการผลิตด้วยปัจจัยต่างๆ การทราบถึงปัญหาและพฤติกรรมการหยุดทำงานจึงเป็นข้อมูลสำคัญเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และวางแนวทางการแก้ไขในการลดเวลาหยุดทำงานให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียผลกำไร ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน 3.      ต้นทุนการผลิต (Production Costs): ตรวจสอบต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อการผลิต การติดตามต้นทุนการผลิตโดยวิเคราะห์แตกย่อยรายละเอียดลงถึงระดับผลิตภัณฑ์ต่อประเภทของต้นทุนการผลิต เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปริหารจัดการต้นทุนหรือผลิตภัณฑ์ รวมถึงใช้เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพหากมีกระบวนเปลี่ยนแปลงต้นทุนเพื่อวิเคราะห์ถึงประโยชน์หรือผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ละเอียด ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน 4.      ปริมาณงาน […]