ทำไม BizOne ถึงเลือกใช้ Databricks

BizOne เราได้ใช้เวลาหลายพันชั่วโมงในการสร้างโซลูชันวิเคราะห์ข้อมูลบนแพลตฟอร์ม Databricks และ Databricks ยังถูกเลือกเป็นเครื่องมือหลักที่เราใช้ในการพัฒนา Modern Data Lake Solution จากความเชี่ยวชาญในการใช้งานเครื่องมือตลอดหลายปีที่ผ่านมาและจากประสบการณ์กว่า 20 ปี ในเทคโนโลยีด้านข้อมูลเราได้พัฒนาเฟรมเวิร์ก (Framework) ของตนเองภายใต้ชื่อ Velocity ซึ่งไม่เพียงแต่ใช้ประโยชน์จากความสามารถของ Databricks เท่านั้น แต่ผนวกการสร้างกระบวนที่สามารถช่วยเร่งการพัฒนาด้วยการจัดหาส่วนประกอบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งส่งผลต่อการลดต้นทุนกสนพัฒนาและลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา . ในบทความนี้ เราจะอธิบายรายละเอียดว่า Databricks คืออะไร และเหตุใดเราจึงเลือก Databricks เป็นเครื่องมือหลักสำหรับพัฒนาโซลูชันการวิเคราะห์ข้อมูลของเรา Databricks คืออะไร? Databricks ได้รับการพัฒนาโดยผู้สร้าง Apache Spark ซึ่งก่อนที่เราจะเจาะลึกในรายละเอียดของ Databricks สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ที่ต้องการถึงคือ Apache Spark Apache Spark เป็นเฟรมเวิร์กการประมวลผลข้อมูล (data processing framework) ที่สามารถดำเนินการประมวลผลบนชุดข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถกระจายงานการประมวลผลข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์หลายเครื่องได้ ไม่ว่าจะทำงานด้วยตัวเองเพียงเครื่องเดียวหรือทำงานร่วมกันแบบคู่ขนาน คุณสมบัติทั้งสองนี้ทำให้เป็นรากฐานที่สำคัญของการจัดการข้อมูลบน Big Data และกระบวนการ Machine […]

Advanced Analytics – Part 3

เส้นทางโครงการ Data Analytics Platform บนแนวทางปฏิบัติ 5 ขั้นตอน ในบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคนหรือองค์กรที่ต้องการเริ่มการนำระบบวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้งานในองค์กร ที่อาจมีคำถามว่าควรเริ่มต้นลักษณะใดและมีขั้นตอนปฏิบัติที่เหมาะสมอย่างไรบ้าง โดยมีใจความสำคัญในการวางแนวทางการวางแผน เตรียมพร้อม พัฒนา และตั้งเป้าหมายอย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อการประยุกต์หรือการนำเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลมาปรับใช้งาในองค์กรภายใต้แนวทางปฏิบัติ 5 ขั้นตอนเพื่อเส้นทางโครงการ Data Analytics ของคุณเอง ดังนี้ 1. กำหนดโครงสร้างและกรอบโครงการ Data Analytics ของคุณ การดำเนินการโครงการที่ดีต้องเริ่มจากรากฐานที่แข็งแรงโดยในขั้นตอนนี้ควรดำเนินการจากการกำหนดโครงสร้างและทิศทางของโครงการ Data Analytics ของคุณในภาพรวมตามองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้ วัตถุประสงค์ในการสนับสนุนธุรกิจในลักษณะใด 2.  ระบุความต้องการ ผลลัพธ์ และแนวทางการดำเนินโครงการภายใต้ขอบเขตโครงการ 2.1. วิเคราะห์และกำหนดความต้องการโดยใช้วิธีการสอบถามผู้ได้รับประโยชน์/ผู้ใช้งานใน 3 แนวคิด มุ่งเน้นการสอบถามปัญหาที่พบในการทำงานและสอบถามถึงวิธีการแก้ไขที่ผู้ได้รับประโยชน์/ผู้ใช้งานดำเนินการอยู่ในปัจจุบันเพื่อเพื่อทำความเข้าใจต้นตอของปัญหาและผลลัพธ์ที่ต้องการได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หมายเหตุ ในหลายกรณีเมื่อพูดถึงกรอบความต้องการมักเป็นการยากในการแยกสิ่งที่จำเป็นกับอุดมคติเนื่องจากในมุมมองเจ้าของกระบวนการแล้วต้องการเพิ่มประสิทธิภาพหรือลดปัญหาในการทำงานให้ได้มากที่สุด แต่หากพิจารณาในมุมมองของขอบเขตโครงการแล้วการจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องมีหรือพิจารณาประโยชน์ของความต้องการในอุดมคติเป็นส่วนสำคัญในการวางแผน จัดลำดับ หรือ แบ่งเป็นระยะโครงการเป็นลำดับขั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าสูงสุดต่อองค์กร 2.2. ระบุผลลัพธ์ที่ต้องการและตั้งเป้าหมาย โดยการนำสิ่งที่สำรวจมาหารือและตกลงร่วมกับคณะทำงานและผู้บริหารเพื่อกำหนดเป้าหมายโครงการ โดยแนะนำให้ตั้งเป้าหมายองค์กรในภาพรวมก่อนเพื่อกำหนดทิศทางในการออกแบบและเลือกเทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่ควรนำมาใช้งานเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องข้อจำกัดในการพัฒนาในอนาคต และดำเนินการกำหนดผลลัพธ์และเป้าหมายแบ่งย่อยออกเป็นโครงการหลายๆ ระยะ (Project Phase) เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนา วัดผล […]

Advanced Analytics – Part 2

จากบทความต่างที่ทาง BizOne ได้นำเสนอประโยชน์ของ Analytics Business Intelligence (BI) solution คาดว่าหลายองค์คงเห็นประโยชน์และมีความสนใจนำไปปรับใช้กับองค์กรของท่าน ซึ่งบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อความเข้าใจหรือการเฝ้าระวังปัจจัยที่อาจนำไปสู่ความล้มเหลวหรือลดทอนความสำเร็จของผลลัพธ์ต่อเป้าหมายองค์กรในการพัฒนา Data Analytics solution 1.     ขาดการสนับสนุนและทิศทางของผู้บริหาร เพื่อให้โครงการวิเคราะห์ประสบความสำเร็จ ไม่เพียงต้องมีการลงนามในงบประมาณและไฟเขียวจากฝ่ายบริหารเท่านั้น แต่ยังต้องการส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจด้วย โดยฝ่ายบริหารควรเข้าใจทิศทางของโครงการและทราบถึงประโยชน์ทุกด้านที่สามารถเกิดขึ้นต่อองค์กรได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุนนี้ โครงการก็อาจไม่สามารถเริ่มดำเนินการได้หรืออาจสูญเสียแรงพลักดัน เบี่ยงออกนอกทิศทางที่วางแผนไว้ นอกจากนี้ การมีผู้จัดการโครงการที่ดีเป็นตัวแทนในการบบริหารโครงการจะช่วยสนับสนุนให้ทีมผู้บริหารทราบความคืบหน้าและเกิดการดำเนินโครงการที่ราบรื่น 2.     ระยะเวลาโครงการที่ยาวเกินไป และการได้มีส่วนร่วมของผู้ใช้งานน้อยเกินไป หลายองค์กรประสบปัญหาเรื่องความสมบูรณ์แบบในการเริ่มต้นสร้าง Data analytics หรือ BI solution เนื่องจากการตั้งเป้าหมายการพัฒนาให้ครอบครุมทุกอย่างเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร จึงทำให้ทำให้ขอบเขตการดำเนินการกว้างและมักนิยมใช้รูปแบบการพัฒนาแบบ Waterfall  ส่งผลให้มีระยะเวลาโครงการยาวอีกทั้งต้องใช้เวลานานในการสร้างผลลัพธ์ รวมถึงต้องการเวลาของผู้เกี่ยวข้องในปริมาณมาก ซึ่งอาจจะเป็นการยากที่บุคลากรจะสามารถแบ่งเวลามาเข้าร่วมในระยะยาวได้รวมถึงการได้เห็นผลลัพธ์หรือผลสำเร็จที่ช้าทำให้เกิดการตอบสนองหรือรับรู้ประโยชน์ที่ต่ำเช่นกัน โดยจะเป็นการดีกว่าหากสามารถแบ่งขอบเขตการพัฒนาเป็นหลายระยะและกำหนดผลสำเร็จในแต่ละระยะให้ชัดเจนในรูปแบบการพัฒนาแบบ Agile จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการพัฒนาโครงการและสามารถรักษาการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องตลอดวงจรการพัฒนา 3.   Data Visualization โดยปราศจากทิศทาง, เรื่องราว หรือ การแก้ปัญหาที่ชัดเจน การนำมาแสดงผลในรูปแบบ Visualization ที่ดีในการบอกเล่าเรื่องราวจากข้อมูลของคุณ ควรสะท้อนถึงผลลัพธ์หรือปัญหาที่ต้องการวิเคราะห์ซึ่งสามารถแสดงเหตุการณ์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงแสดงให้เห็นถึงปัจจัยต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างทาง เพื่อให้ผู้ใช้งานหรือนักวิเคราะห์สามารถนำมาประมวลผลทำความเข้าใจหรือนำข้อมูลต่อยอดได้ง่าย […]

Advanced Analytics– Part 1

การวิเคราะห์ข้อมูลชั้นสูง (Advanced Analytics) เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ธุรกิจ (Business Values) Modern Analytics MARCH 18, 2022 ปัจจุบันการเครื่องมือและกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายโดยวัตถุประสงค์ในการสำรวจ จัดเก็บข้อมูลและนำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างประโยชน์ต่อธุรกิจในมุมมองต่างๆ โดยผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดและประสบผลสำเร็จในหลายองค์กรคือ การสร้างรายงานผ่านเครื่องมือ Visualization เช่น Power BI, Tableau เป็นต้น โดยแต่ละองค์กรมีการกำหนด KPIs แต่ที่แตกต่างขึ้นขึ้นอยู่กับเป้าหมายหรือภารกิจขององค์กรในขณะนั้นเช่น การวิเคราะห์ยอดขาย วิเคราะห์ต้นทุน วิเคราะห์โอกาศ และอื่นๆ ผ่านกระบวนการจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่จากระบบต่างๆ มารับปรุงให้อยู่ในรูปแบบเหมาะสมเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการคำนวนและแสดงผลในรูปแบบที่ง่ายต่อการวิเคราะห์เชิงลึกโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อกำหนดกลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติของธุรกิจต่อไป ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก เพียงแต่การวิเคราะห์ในรูปแบบนี้มีข้อกำจัดในการสะท้อนมุมมองเฉพาะกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วหรือในกรณีมีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real time ก็ทราบเพียงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกถึงเหตการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและแนะนำถึงสิ่งที่เหมาะสมในการนำไปปฏิบัติเพื่อให้ได้บรรลุตามเป้าหมายที่องค์กรต้องการ รวมถึงการวางแนวทางป้องกันในทางตรงกันข้ามเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สามารถนำไปใช้งานกับธุรกิจทันทีหรือสามารถเร่งความเร็วในการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญ ลดเวลาการตอบสนองจากองค์กร หรือสามารถตอบสนองต่อลูกค้า/ผู้ใช้บริการของเราได้โดยอัตโนมัติ ผ่านกระบวนการวิเคราะห์แบบพยากรณ์และกระบวนการวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำ โดยในบทความนี้กล่างถึงภาพรวมของรูปแบบหรือประเภทของการวิเคราะห์ข้อมูลและตัวอย่างผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ชองแต่ละประเภท 1. Descriptive Analytics (การวิเคราะห์แบบพื้นฐาน) เป็นการวิเคราะห์แบบพื้นฐานเพื่อสรุปผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น โดยการนำข้อมูลในอดีตผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อสามารถตอบคำถามและบรรยายสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านข้อมูล เช่น การวิเคราะห์แบบพื้นฐานเป็นก้าวแรกสู่การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ที่เราสนใจเพื่อนำไปสู่การตั้งคำถามหรือวิเคราะห์เชิงลึกในลำดับถัดไป 2. Diagnostic Analytics (การวิเคราะห์แบบวินิจฉัย) เป็นการวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลของผลลัพธ์แบบเจาะจง […]

Customer 360 – Part 2 Customer Profiling

สร้างโปรไฟล์ลูกค้า (Customer Profiling) คือเส้นทางการระบุลูกค้าในอุดมคติ สร้างโปรไฟล์ลูกค้าคือกระบวนการระบุกลุ่มลูกค้าโดยอ้างอิงจากคุณลักษณะทั่วไปหรือลักษณะเฉพาะเพื่อจัดกลุ่มลูกค้าตามความเหมือนหรือแตกต่างและนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในการกำหนดกลุ่มเป้าทางธุรกิจรวมถึงการวิธีการที่เหมาะสมในการสื่อสารหรือส่งมอบสินค้า/บริการให้เกิดคุณค่าและตรงตามความต้องการในแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน เนื่องจากโครงสร้างตลาดในปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูงในแทบจะทุกธุรกิจซึ่งการได้มาซึ่งลูกค้าใหม่ ส่วนแบ่งตลาดและ การรักษาลูกค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญ  ดังนั้นการเข้าใจถึงคุณลักษณะลูกค้าจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดแนวทางการเสาะหาลูกค้าใหม่ การเพิ่มความภักดีของลูกค้า (customer loyalty) รวมถึงการกำหนดรูปแบบข้อเสนอของสินค้า/บริการไปยังกลุ่มลูกค้าเหมาะสม แล้วจะทำอย่างไรถึงสามารถระบุถึงลูกค้าที่เหมาะสมและสามารถเสนอสินค้า/บริการที่ลูกค้าสามารุเข้าใจและรับรู้คุณค่าและรู้สึกมีส่วนร่วมกับสิ่งที่ได้จะรับ คำตอบคือ การสร้างสร้างโปรไฟล์ลูกค้าที่มีประสิทธิภาพ! ประโยชน์ของสร้างโปรไฟล์ลูกค้า กระบวนการสร้างโปรไฟล์ลูกค้า ในท้ายที่สุดกระบวนการสร้างโปรไฟล์ลูกค้าจะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพองค์กรต้องมีกระบวนการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อให้ผลลัพธ์น่าเชื่อถือและนำไปสู่เป้าหมายตามที่องค์กรกำหนด โดยอาจเริ่มจากการพิจารณาจากระบบการเก็บข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่ในปัจจุบันว่ามีความสอดคล้องและเพียงพอมากน้อยเพียงใด รวมถึงการสร้างกระบวนการในการวิเคราะห์บนเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อเข้าสู่กระบวนการสร้างโปรไฟล์ลูกค้าที่มีคุณภาพ การทำ Customer profiling เป็นส่วนหนึ่งของในกระบวนการพื้นฐานของ Customer 360 โดยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจลูกค้าให้ครอบครุมในทุกมุมมอง หากองค์กรใดมีความสนใจหรืออยากได้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการเริ่มดำเนินการหรืออยากทราบเทคโนโลยีที่เหมาะสมสามารถติดต่อ BizOne โดยกรอกข้อมูลด้านล่าง ทางเรายินดีให้บริการครับ

เคล็ดลับในการเริ่มสร้างทักษะด้าน Data

ก้าวแรกเพื่อเข้าสู่การทำงานด้านข้อมูลบนแพลตฟอร์ม Azure: แนวทางการอบรมและได้รับใบรับรองฟรีบน DP-900 Microsoft Azure Data Fundamentals Certification หลายท่านที่มีความสนใจที่จะเข้าสู่การทำงานในด้าน Data แต่อาจยังขาดประสบการณ์หรือชุดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและจำเป็น วันนี้ทาง BizOne ได้พบข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับการเรียนรู้และแนวทางในการรับสิทธิ์สอบ certification ด้าน Data โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในหลักสูตร DP-900 Microsoft Azure Data Fundamentals เริ่มต้นคุณสามารถเข้าไปลงทะเบียนใน Website Microsoft https://www.microsoft.com/en-us/trainingdays สำหรับเข้ารับการอบรมพื้นฐานของ Azure Data ในหลักสูตร VIRTUAL: Microsoft Azure Virtual Training Day: Data Fundamentals โดยใช้เวลาอบรมประมาณ 2 วัน วันละ 3 – 4 ชั่วโมง ซึ่งผ่านการอบรมครบตามเงื่อนไขจะได้รับคูปองการสอบ Exam DP-900: Microsoft Azure Data Fundamentals ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย (โดยปกติต้องจ่าย 55 – […]

Industry 4.0 enablement consulting program

โปรแกรมให้คำปรึกษาสู่การเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงสู่อสาหกรรม 4.0: 8 ชั่วโมงโดยที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ภายในระยะเวลาโครงการ 8 ชั่วโมงที่ปรึกษาจะเข้าร่วมในการทบทวนและประเมินกระบวนการสู่การเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงสู่อสาหกรรม 4.0 เพื่อการเปลี่ยนแปลงอุสาหกรรมโดยสำรวจความต้องการ/เป้าหมายเปรียบเทียบกับความพร้อมขององค์กรในปัจจุบัน โดยเราจะเก็บข้อมูลที่จำเป็นไปวิเคราะห์เพื่อหาข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนาองค์กรเข้าสู่อสาหกรรม 4. กิจกรรมและสิ่งที่ได้รับ โปรแกรมที่ปรึกษานี้เหมาะสำหรับโรงงานอุสาหกรรมที่สนใจเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการทางธุรกิจปัจจุบันสู่อุสาหกรรม 4.0 แต่ยังขาดความเข้าใจถึงองค์ประกอบเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมถึงรายละเอียดข้อมูลความต้องการด้านเวลาและต้นทุนที่ต้องใช้ในการพัฒนา โครงการให้คำปรึกษาเริ่มต้นด้วยการสัมภาษณ์ออนไลน์ 1 ชั่วโมงซึ่งเราจะแนะนำโดยการสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการ/การดำเนินการในปัจจุบันและลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องการในอนาคต หลังจากนั้นอ้างอิงจากคำตอบเราจะออกแบบโซลูชันในภาพรวมพร้อมข้อมูลแนวคิดด้านเทคโนโลยี/เครื่องมือ และประมาณการต้นทุนสำหรับการนำโซลูชันมาเริ่มต้นใช้งาน สิ่งที่ส่งมอบในโปรแกรมการให้คำปรึกษานี้เป็นเอกสารแนวคิดเกี่ยวกับโซลูชันและเทคโนโลยี รวมถึงการประเมินต้นทุนโครงการสำหรัยการเริ่มต้นใช้งาน Campaign ติดต่อเพื่อรับการสนับสนุนเพิ่มเติม

Top 5 Power BI APIs

Microsoft ให้บริการหลากหลายการเชื่อมต่อผ่าน APIs และเอกสารประกอบการใช้งานที่ยอดเยี่ยมบนบริการ Power BI ในบทความนี้เราได้เลือก APIs ที่เป็นที่นิยม 5 รายการที่สามารถช่วยคุณหรือองค์กรของคุณสามารถเลือกใช้งานในหลากหลายสถานการณ์! 1. Scanner API (Admin REST API) ในความเห็นของผม นี่อาจเป็นหนึ่งใน API ที่มีประโยชน์ที่สุดที่มีอยู่ในปัจจุบันบนแพลตฟอร์ม Power BI (PBI) ทำให้ผู้ใช้สามารถจำแนกรายการ Meta Data ทั้งหมดจาก Dataset บน Power BI tenant ได้อย่างรวดเร็ว และยังเหมาะสำหรับการใช้เป็นข้อมูลประกอบในการจัดทำเอกสาร ซึ่งสามารถเข้าถึงชข้อมูลล้าสมัยล้าสมัยได้อย่างรวดเร็วโดยการใช้ข้อมูลทำให้คุณสามารถส่งรายงานไปยังผู้ใช้ปลายทางและให้พวกเขาค้นหา measure/table บน tenant ได้ทั้งหมด โดยไม่ใช้เพียงแค่เห็นคำอธิบาย แต่ยังรวมถึงโค้ด DAX ของ Measure ต่างๆด้วยทำให้สามารถเข้าใจถึง Logics เบื้องหลังได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องจำไว้ก็คือ เพื่อให้ได้ข้อมูลโดยละเอียดนี้ ชุดข้อมูล (dataset) ต้องได้รับการเผยแพร่ด้วย PBI […]

Customer 360 Part 1

แนวคิด Customer 360 อ้างอิงมาจากมุมมอง 360 องศาบนข้อมูลของลูกค้าเพื่อสร้างภาพรวมที่สมบูรณ์และแม่นยำในทุกปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับธุรกิจของคุณ โดยการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นรายละเอียดข้อมูลการติดต่อ ความชอบ/รสนิยม ประวัติการซื้อ หรือการสอบถามข้อมูลการบริการลูกค้า เป็นต้น Customer 360 คือศูนย์กลางในการเชื่อมต่อและประสานความเกี่ยวโยงของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าทั้งหมดและสร้างเป็นแหล่งข้อมูลเดียวที่แสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าโดยครอบครุมถึงข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ปัญหา การจัดการจัดเก็บข้อมูลลูกค้าในหลากหลายแหล่งฐานข้อมูลโดยอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น ช่องทางหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นร่วมกับลูกค้าที่ (touchpoints) (หน้าร้านค้า, ทางเว็บไซต์, ผ่านโซเชียลมีเดีย และโทรศัพท์), ด้านภูมิศาสตร์ และด้านความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและความคลาดเคลื่อนซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้หากระบบเหล่านี้ไม่ได้เชื่อมต่อหรือมีการปรับปรุงข้อมูลให้ตรงกัน ประโยชน์จาก Customer 360 ภาพรวม ภาคธุรกิจสามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อใช้ในการวางแผน กลยุทธ์การมีส่วนร่วมกับลูกค้า, การสร้าง customer journey, การสื่อสาร, ข้อเสนอพิเศษสำหรับรายบุคคล และการส่งมอบสินค้า/บริการ ประโยชน์แยกตามอุสาหกรรม กลุ่มประกันภัย: มุมมอง 360 องศาสำหรับผู้ถือกรมธรรม์ สมาชิก หรือนายหน้าเพิ่มขีดความสามารถแก่ผู้ให้บริการประกันสามารถส่งมอบรูปแบบกรมธรรม์ที่เหมาะสมให้แก่ผู้ที่สนใจ โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม รวมถึงสามารถพัฒนาสินค้าหรือบริการตามคำขอรับบริการได้อย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมโรงงาน: ผู้ผลิตสามารถรับข้อมูลเชิงลึกใหม่ที่ช่วยให้กำหนดกลยุทธ์ โดยมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ที่มียอดขายหรือให้บริการมากที่สุด ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อออกแบบศูนย์ข้อมูลประสบการณ์ต่อสินค้าหรือบริการของลูกค้าเป็นรายบุคคลได้ […]

Transform to Industry 4.0 Tech talk Part 1

จากที่เราเคยกล่าวถึงเทคโนโลยีและเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาสู่อุตสาหกรรม 4.0 นั้นมีความหลากหลายและเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างองค์ประกอบหลายชนิดเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ซึ่งมีผู้พัฒนาหลายรายได้รวมกลุ่มของเครื่องมือดังกล่าวมาให้บริการในลักษณะ Platform เพื่อสร้างความสะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งจากความต้องการในตลาดและความหลากหลายของ Platform ทำให้ Gartner ได้เข้ามาทำการศึกษาและพิจารณาความสามารถเทคโนโลยีในกลุ่ม Industrial IoT Platforms บนเกณการพิจารณาใน 2 ด้านและได้สรุปผลให้ Microsoft เป็นผู้นำ Industrial IoT Platforms ประจำปี 2021 จากคะแนนประเมินสูงสุดทั้งด้านความครอบครุมของวิสัยทัศน์และความสามารถในการดำเนินการ Gartner คือใคร? บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของโลก พวกเขาให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จำเป็นผ่านแหล่งข้อมูลของ Gartner Research, Gartner Executive Programs, Gartner Consulting และ Gartner เพื่อวิจัย วิเคราะห์ และตีความเทคโนโลยี/ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศภายใต้บริบทของบทบาทในด้านนั้นๆ โดยก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 คำอธิบาย โดย Gartner คำนิยามโดยตลาด/คำจำกัดความ Gartner ได้นิยามตลาดของแพลตฟอร์มด้าน industrial Internet of Things (IIoT) […]